ทิศทางการออกแบบอาคารตามมาตรฐานการออกแบบอาคาร WELL Building Standard เรื่องการออกแบบแสงและทิวทัศน์สำหรับพื้นที่ทำงาน

          WELL Building Standard มาตรฐานการออกแบบอาคาร ที่คำนึงถึงสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อาศัย ซึ่งมาตรฐานนี้จะต้องมีการตรวจประเมินผล ตรวจสอบประสิทธิภาพ และออกหนังสือรับรองหลังผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด 8 ด้าน คือ

  1. อากาศ (Air)

  2. น้ำ (Water)

  3. อาหารการกิน (Nourishment)

  4. แสงและทิวทัศน์ (Light)

  5. ออกกำลังกาย (Fitness)

  6. ความสะดวกสบาย (Comfort)

  7. สุขภาพทางด้านจิตใจ (Mind)

  8. นวัตกรรม (Innovation)

          โดยบทความนี้จะนำเสนอ เกณฑ์การออกแบบอาคารเรื่อง แสงและทิวทัศน์ (Light) ถึงวิธีการออกแบบปฏิบัติงานและขั้นตอนการปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อให้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานอาคาร WELL Building Standard โดยมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารเชิงพาณิชย์ และอาคารราชการ สามารถใช้กับ 3 ประเภทโครงการ คือ

                    1. อาคารใหม่และอาคารเก่า (New and Existing Buildings)

                    2. ภายในของอาคารใหม่และอาคารเก่า  (New and Existing Interiors)

                    3. โครงสร้างอาคารและกรอบอาคาร (Core and Shell)

 

        WELL Building Standard® for Light เป็นแนวทางการออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของ “นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm)” ของร่างกายให้ดำเนินไปตามปกติ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสบายของการอยู่อาศัยและการนอนหลับ โดยนาฬิกาชีวภาพ หมายถึง ลักษณะทางชีววิทยาตลอด 24 ชั่วโมงของแต่ละคน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกาย การหลับและการตื่น เป็นต้น

      มาตรฐานนี้สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ Illuminating Engineering Society (IES) เป็นกลุ่มที่สร้างข้อกำหนดด้านแสงสว่างทั่วไป และแนวทางการจัดแสงสว่างสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนและสัตว์ภายในห้องทุกประเภท ทำให้มีการมองเห็นที่ดีในงานที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาการปวดตา อาการปวดหัว หรือการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

       ทฤษฎีของการเดินทางของแสงเข้าสู่ตา ผ่านเซลล์รับแสงบนเรตินา แท่งกรวย และจอประสาทตาภายในเซลล์ปมประสาท (ipRGC) ส่งเป็นข้อมูลในรูปแบบของเคมีไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง ช่วยให้สามารถรับรู้สี และมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราได้ แสงมีผลต่อนาฬิกาชีวภาพ เป็นตัวชี้นำจากภายนอก ส่วนจอประสาทตาภายในเซลล์ปมประสาทมีความสำคัญต่อนาฬิกาชีวภาพ คือทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองเพื่อกระตุ้นปฏิกิริยาต่อเนื่องในร่างกาย ข้อมูลจากจอประสาทตาภายในเซลล์ปมประสาท จะส่งไปยังส่วนเฉพาะของสมอง เพื่อให้ทราบเวลาในแต่ละวันตามปริมาณแสงที่ได้รับ ส่งผลต่อการทำงานในเนื้อเยื่อและอวัยวะภายนอก กระบวนการทางสรีรวิทยาหลายอย่าง รวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัว การย่อยอาหาร และการนอนหลับ หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ด้านการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นด้วย เช่น โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ภาวะซึมเศร้า, หัวใจวาย, ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

 ตาราง1      

ตาราง2

     

หมายเหตุ : P คือ ข้อบังคับ (PRECONDITIONS)

              O คือ คำแนะนำเพิ่มเติม (OPTIMIZATIONS)

 

โดยรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อต่างๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์บทความได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้

ไฟล์แนบ