WELL Building Standard มาตรฐานการออกแบบอาคาร ที่คำนึงถึงสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อาศัย ซึ่งมาตรฐานนี้จะต้องมีการตรวจประเมินผล ตรวจสอบประสิทธิภาพ และออกหนังสือรับรองหลังผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด 8 ด้าน คือ
-
อากาศ (Air)
-
น้ำ (Water)
-
อาหารการกิน (Nourishment)
-
แสงและทิวทัศน์ (Light)
-
ออกกำลังกาย (Fitness)
-
ความสะดวกสบาย (Comfort)
-
สุขภาพทางด้านจิตใจ (Mind)
-
นวัตกรรม (Innovation)
โดยบทความนี้จะนำเสนอ เกณฑ์การออกแบบอาคารเรื่อง แสงและทิวทัศน์ (Light) ถึงวิธีการออกแบบปฏิบัติงานและขั้นตอนการปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อให้ผ่านการรับรองตามมาตรฐานอาคาร WELL Building Standard โดยมาตรฐานนี้ใช้สำหรับอาคารเชิงพาณิชย์ และอาคารราชการ สามารถใช้กับ 3 ประเภทโครงการ คือ
1. อาคารใหม่และอาคารเก่า (New and Existing Buildings)
2. ภายในของอาคารใหม่และอาคารเก่า (New and Existing Interiors)
3. โครงสร้างอาคารและกรอบอาคาร (Core and Shell)
WELL Building Standard® for Light เป็นแนวทางการออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่างมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การทำงานของ “นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm)” ของร่างกายให้ดำเนินไปตามปกติ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสบายของการอยู่อาศัยและการนอนหลับ โดยนาฬิกาชีวภาพ หมายถึง ลักษณะทางชีววิทยาตลอด 24 ชั่วโมงของแต่ละคน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน อุณหภูมิของร่างกาย การหลับและการตื่น เป็นต้น
มาตรฐานนี้สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ Illuminating Engineering Society (IES) เป็นกลุ่มที่สร้างข้อกำหนดด้านแสงสว่างทั่วไป และแนวทางการจัดแสงสว่างสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของคนและสัตว์ภายในห้องทุกประเภท ทำให้มีการมองเห็นที่ดีในงานที่หลากหลาย หลีกเลี่ยงอาการปวดตา อาการปวดหัว หรือการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีของการเดินทางของแสงเข้าสู่ตา ผ่านเซลล์รับแสงบนเรตินา แท่งกรวย และจอประสาทตาภายในเซลล์ปมประสาท (ipRGC) ส่งเป็นข้อมูลในรูปแบบของเคมีไฟฟ้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง ช่วยให้สามารถรับรู้สี และมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราได้ แสงมีผลต่อนาฬิกาชีวภาพ เป็นตัวชี้นำจากภายนอก ส่วนจอประสาทตาภายในเซลล์ปมประสาทมีความสำคัญต่อนาฬิกาชีวภาพ คือทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองเพื่อกระตุ้นปฏิกิริยาต่อเนื่องในร่างกาย ข้อมูลจากจอประสาทตาภายในเซลล์ปมประสาท จะส่งไปยังส่วนเฉพาะของสมอง เพื่อให้ทราบเวลาในแต่ละวันตามปริมาณแสงที่ได้รับ ส่งผลต่อการทำงานในเนื้อเยื่อและอวัยวะภายนอก กระบวนการทางสรีรวิทยาหลายอย่าง รวมถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัว การย่อยอาหาร และการนอนหลับ หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยง ด้านการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นด้วย เช่น โรคเบาหวาน, โรคอ้วน, ภาวะซึมเศร้า, หัวใจวาย, ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
หมายเหตุ : P คือ ข้อบังคับ (PRECONDITIONS)
O คือ คำแนะนำเพิ่มเติม (OPTIMIZATIONS)
โดยรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อต่างๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์บทความได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้