- 1.อาคารประเภทไหนบ้างที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ BEC
-
อาคารที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ BEC ต้องเป็นอาคารอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปในอาคาร 9 ประเภท ได้แก่ 1) สำนักงาน 2) โรงแรม 3) โรงพยาบาล 4)ศูนย์การค้า 5) โรงมหรสพ 6) สถานบริการ 7) อาคารชุมนุมคน 8) อาคารชุด และ 9) สถานศึกษา
-
2.เกณฑ์ BEC ประกอบด้วยอะไร และมีการประเมินการผ่านเกณฑ และไม่ผ่านเกณฑ์อย่างไร
-
เกณฑ์ BEC กำหนดมาตรฐานไว้ 5 ระบบหลัก ได้แก่ 1) ระบบเปลือกอาคาร 2) ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 3) ระบบปรับอากาศ 4) อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน และ 5) การใช้พลังงานชดเชยด้วยการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ต้องมีค่ามาตรฐานไม่เกินที่ประกาศกระทรวงกำหนด
การผ่านเกณฑ์ประเมินของการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สามารถพิจารณาได้จาก 2 แนวทาง ได้แก่ การผ่านเกณฑ์ทุกระบบ และการผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร สำหรับอาคารที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทุกระบบ ให้พิจารณาค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ต้องต่ำกว่าค่าการใช้พลังงานโดยรวมของอาคารอ้างอิง
- 3.ต้นทุนการก่อสร้างที่แตกต่างกันระหว่างอาคารอนุรักษ์พลังงาน และอาคารทั่วไป
-
ด้วยเกณฑ์ BEC มีการประเมินแบบการผ่านเกณฑ์ทุกระบบ และการผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวม โดยจากสถิติการตรวจประเมินของ พพ. ที่ผ่านมากว่า 806 แบบอาคาร พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกระบบ 40% และผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานโดยรวมทั้งหมด
ถ้ามีการปรับปรุงให้ผ่านเกณฑ์ทุกระบบ โดยเฉพาะระบบเปลือกอาคารที่ทำได้ยาก จะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 5% และมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ย 3.02 ปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับอายุการใช้งานของแต่ละอาคารที่ 30 ปี แล้ว พบว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาวได้
- 4.วัสดุด้านการอนุรักษ์พลังงานมีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดหรือไม่ และราคาเป็นอย่างไร
-
ปัจจุบันวัสดุด้านการอนุรักษ์พลังงานมีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น กระจกสีเขียวตัดแสงกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนติดใต้หลังคา หรือเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 เป็นต้น สำหรับเรื่องราคาแพงกว่าวัสดุทั่วไปเล็กน้อย แต่อยากจะพิจารณาเรื่องของความคุ้มค่าและความเหมาะสมของราคา กับประโยชน์ที่จะได้รับด้วย
- 5. หน้าที่ของ พพ. และศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน คืออะไร
-
พพ. มีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมาย โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานภายในคือศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือ ศูนย์ BEC ตั้งแต่ ปี 2553 ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล เผยแพร่องค์ความรู้ ให้คำปรึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกแบบอาคารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฯ ตรวจแบบอาคารภาครัฐตาม มติ ครม. วันที่ 4 ตุลาคม 2554 และเอกชนที่สนใจ และฝึกอบรมให้ความรู้แก่ วิศวกร สถาปนิก เจ้าหน้าที่อนุญาตแบบก่อสร้าง ฯลฯ
- 6. ผู้ตรวจประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานมีจำนวนเพียงพอหรือไม่
-
ที่ผ่านมา พพ. ได้อบรมให้ความรู้การตรวจประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานให้กับสถาปนิกและวิศวกร รวมกว่า 3,000 คน และยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม กว่า 11 สถาบัน เพื่อที่จะสร้างนิสิต นักศึกษาที่มีความรู้ ความเข้าใจด้านอาคารอนุรักษ์พลังงานตั้งแต่เริ่มต้น
- 7. พพ. มีการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับผู้ตรวจประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานอย่างไร
-
ตั้งแต่ปี 2560 พพ. ได้มีการนำร่องเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างผู้ตรวจประเมินแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานมืออาชีพโดยมีการอบรมขึ้นทะเบียนแล้วกว่า 400 คน และยังเตรียมความพร้อมให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารเพื่ออนุญาตก่อสร้างหรือเปิดใช้งานอาคาร จำนวนกว่า 1,900 คน (เป้าหมาย 5,000 คนทั่วประเทศ)
- 8. จำนวนแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านการตรวจประเมิน และผลการประเมินตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน
-
ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน นำร่องตรวจรับรองแบบอาคารภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี และอาคารเอกชนที่สนใจ รวมกว่า 806 อาคาร โดยแบ่งเป็นภาครัฐ 502 อาคาร และภาคเอกชน 304 อาคาร ซึ่งจาก
- 9. ประโยชน์ของอาคารอนุรักษ์พลังงาน ต่อเจ้าของอาคาร ผู้ใช้อาคาร และการใช้พลังงานในประเทศ
-
ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงให้มีการใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบอาคาร ซึ่งคาดว่าจะเกิดผลประหยัดพลังงานอย่างน้อยร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบอาคารทั่วไปที่ไม่ได้คำนึงถึงด้านอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี คาดว่าในปี 2579 จะมีผลประหยัดรวมประมาณ 13,686 ล้านหน่วย (1,166 กิโลตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ) หรือคิดเป็นเงินประมาณ 47,000 ล้านบาท และเจ้าของอาคารและผู้ใช้อาคารจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละปีลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการลดใช้พลังงานในประเทศ ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงาน
- 10. แนวทางการยกระดับมาตรฐาน BEC ให้สูงขึ้น
-
เกณฑ์ BEC ถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานพลังงานขึ้นต่ำ ไม่ได้ยากต่อการปฎิบัติ ซึ่งปัจจุบันวัสดุอุปกรณ์ทั่วไปก็ทำผ่านเกณฑ์แล้ว
แต่แน่นอนว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟมาใช้หลอด LED ที่มีค่าการไฟฟฟ้าน้อยลงมาก เป็นต้น ดังนั้นเกณฑ์ BEC จึงมี Road Map ในการยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีอยู่แล้ว เบื้องต้นวางแผนไว้ทุกๆ 6 ปี - 11. ระยะเวลาของการตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
-
ในระหว่างรอกฎหมายให้มีผลบังคับใช้นี้ พพ. ได้ให้บริการตรวจประเมินแบบอาคารด้วยเกณฑ์ BEC ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายรองรับอยู่แล้ว โดยใช้ระยะเวลาตรวจประเมินอาคารและออกใบรับรองภายใน 28 วันทำการ แต่เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วจะมอบหน้าที่การประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานให้กับวิศวกร สถาปนิก ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและทดสอบ ที่ได้รับรองจากสภาวิศวกร และสภาสถาปนิก แทน
- 12. โปรแกรมประเมินประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร Building Energy Code Software: BEC Software
-
BEC เป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการตรวจและประเมินการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน ว่ามีค่าอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามเกณฑ์ตามกฎหมายหรือไม่ ผู้ใช้งานต้องป้อนค่าต่างๆ ที่จำเป็นป้อนลงในโปรแกรม เช่น ชนิดของวัสดุก่อสร้าง กรอบอาคารที่ใช้ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ เป็นต้น
โครงสร้างโปรแกรม BEC ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ฐานข้อมูล (Database)
– ข้อมูลกรอบอาคาร (Envelope)
– ข้อมูลระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting System)
– ข้อมูลระบบปรับอากาศ (A/C System)
– ข้อมูลระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (PV System)
– ข้อมูลระบบทำความร้อน (Hot Water System)
– ข้อมูลอุปกรณ์การใช้ไฟฟ้าอื่นๆ (Other)ส่วนที่ 2 แบบจำลองอาคาร(Building Model)
– การสร้างแบบจำลองอาคาร (Building Zone)
– การป้อนข้อมูลระบบอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับอาคารส่วนที่ 3 รายงานผลวิเคราะห์การใช้พลังงาน(Report)
– ระบบกรอบอาคาร (Envelope System)
– ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting System)
– การใช้พลังงานรวมของอาคาร (Whole Building Energy)
– ระบบปรับอากาศ (Air-Conditioning System)
– ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (PV System)
– ระบบทำความร้อน (Hot Water System)